วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ชูการ์ไกรเดอร์ Sugar Glider

advertisement



ชื่อสามัญ : Sugar Glider
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Petaurus Breviceps
ถิ่นกำเนิด : ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี อินโดนีเซีย
อาหาร : ผลไม้รสหวาน หรือ แมลงตัวเล็กๆ
อุปนิสัย : เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน และ อยู่กันเป็นกลุ่ม
รูปร่าง : โตเต็มวัยวัดจากจมูกถึงหางยาวประมาณ 11 นิ้ว
อายุ : ประมาณ 10-15 ปี


ชูการ์ไกรเดอร์ หรือ เรียกกันว่า จิงโจ้บิน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซั่ม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโต ชูการ์ไกรเดอร์ มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ ชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง จะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตน อายุโดยเฉลี่ยของ ชูการ์ไกรเดอร์ จะอยู่ได้ถึง 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกรเดอร์ จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมในการใช้เกาะ หรือ กระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ขนมีลักษณะนุ่มมาก ตามบริเวณข้างลำตัวของมันจะมีพังผืด ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนกับ กระรอกบิน ชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลักๆ ของมันคือ แมลง ส่วนผลไม้ จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะอยู่ที่ 11 นิ้ว การขยายพันธุ์ แพร่กระจาย ตั้งแต่ ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย ทางซีกตะวันออก ด้วยความน่ารักของมัน ประกอบกับเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก และมีอุปนิสัยไม่ดุร้าย ทำให้ ชูการ์ไกรเดอร์ ป็นที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง กันมากในปัจจุบัน สามารถเพาะและขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้วในปัจจุบัน

นิสัยของ ชูการ์ไกเดอร์
จะแบ่งนิสัยออกเป็นช่วงๆ ของอายุ
ชูการ์ไกรเดอร์ มีนิสัย ซุกซน ขี้เล่น ขี้อ้อน ขี้ตกใจ  ชอบกัดแทะ ปีนป่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
และ ชอบนอนตอนเช้าและตื่นตอนกลางคืน

การสืบพันธุ์ของ ชูการ์ไกเดอร์ ตัวผู้ ที่พร้อมผสมพันธ์ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 10 เดือน ตัวเมีย ที่พร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 8 เดือน
อยู่ราวๆ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน จะเข้าสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ชูการ์ไกรเดอร์ จะใช้ระยะเวลาในการทั้งท้อง 16 - 21 วัน คลอดลูกครั้งละ 1-2 ตัว เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว  ลูกจะคลานเข้าสู่กระเป๋าหน้าท้องของแม่ทันที





ข้อห้ามและข้อควรระวังในการเลี้ยง
ห้ามอาบน้ำ สำคัญมากเพราะชูก้าร์จะคอยทำความสะอาดตัวเองอยู่แล้ว เว้นแต่ถ้าเปื้อนเศษ อาหารให้ใช้วิธีเอาผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตามตัวและขน ไม่ควรปล่อยให้แห้งกรังนานๆ อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราได้

ห้ามใช้ไดรเป่าผม เป่าชูก้าร์โดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ชูก้าร์หูแหว่งได้

ห้ามให้กินอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งช็อกโกแลต ฯลฯ

ห้ามให้ดื่มนมวัวเด็ดขาด เพราะนอกจากจะระบบอาหารของชูก้าร์จะย่อยไม่ได้แล้ว ยังจะทำให้ชูก้าร์ท้องเสียอย่างรุนแรงจนอาจตายได้ในที่สุด

เรื่องอาหาร ควรจะเป็นของใหม่ อย่าให้อาหารทิ้งค้างคืนพยายามอย่าเกินครึ่งวัน โดยเฉพาะนมแพะ ควรเปลี่ยนใหม่ทุกมื้อเพราะว่านมแพะสดจะเสียง่ายกว่านมอื่น

ลำไส้ของชูก้าร์ไม่เหมือนคน ตรงส่วนที่เป็นไส้ติ่ง เพราะใช้ในการหมักอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) เพื่อให้ได้สารอาหารขั้นสุดยอด(ไม่รู้จะเรียกว่าไร) ซึ่งถ้าสิ่งที่ชูก้าร์กินเข้าไปเป็นอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้อาจจะทำให้ ชูก้าร์ป่วยตายด้วยโรคท้องอืดได้ เพราะฉะนั้นผู้เลี้ยงควรระวังอาหารที่มีแก๊สเช่น ทุเรียน กล้วย เป็นต้น และระวังเรื่องการกินทิชชู่เข้าไปด้วย

ไม่ควรให้กินผัก ผลไม้ อาหารรสหวานมากจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลกับการมองเห็นได้

ไม่ควรให้กินอาหารไขมันสูงมากเกินไป เช่น การให้หนอนในปริมาณมาก เพราะจะทำให้เกิดจุดเล็กๆขาวๆ ในตา เนื่องจากการสะสมของไขมันในตา

การขาดโปรตีน แคลเซียม และฟอสเฟส เช่น การให้กินแต่ผลไม้ อาจทำให้เป็นโรคกระดูกเสื่อมและโรคเกี่ยวกับฟันได้ ส่งผลให้ขาหลังอ่อนแรงจนกลายเป็นอัมพาตขาหลังได้ ผู้เลี้ยงสามารถให้ ไข่ผง ผงแคลเซียม ไข่แดงต้มสุก ตับบด(ละเอียด) นม ฯ เป็นต้น เพื่อให้สารอาหารนั้นครบถ้วนเพียงพอต่อร่างกายชูก้าร์

การขาดวิตามินดี เนื่องจาก ไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอ (ชูก้าร์ไกรเดอร์ควรจะได้รับแสงแดดยามเช้า-เย็นแบบอ่อนๆ เช่น แสงก่อนตะวันลับฟ้าซักเล็กน้อย)

การออกแดด เป็นสิ่งที่ควรระวังมากๆ เพราะว่า ถ้าพาออกไปที่แดดจ้ามากๆ ชูก้าร์อาจจะมีผลต่อร่างกายและดวงตาได้ ทุกๆท่านต้องอย่าลืมว่า ชูก้าร์ไกลเดอร์ ที่ท่านเลี้ยงนั้นเป็นสัตว์กลางคืน อย่างเช่นดวงตาของชูก้าร์ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่ออยู่ในตอนกลางวัน แดดที่จ้า นอกจากจะทำให้ชูก้าร์เป็นฮีทตายได้แล้ว ยังอาจจะทำให้ตาเค้าบอดได้ด้วย เพราะฉะนั้น ทุกท่านโปรดระวังการพาเค้าไปออกแดดจ้าๆด้วย สังเกตุจากแดดที่เราไม่ต้องหรี่ตามองน่าจะพอให้เค้าออกมาตากแดดได้นิดๆหน่อยๆ

การปล่อยให้อยู่ตัวเดียว ควรจะมีตะกร้าหรือกรงใส่เอาไว้ เนื่องจากชูก้าร์ชอบซุกตัวตามผ้าโดนเค้าจะชอบมากๆ คือตะกร้าผ้าและตู้เสื้อผ้า และชอบซุกซนตีนป่ายที่สูง ดังนั้นอาจจะค้างเติ่งอยู่บนที่สูง อย่างเช่นหลังตู้เสื้อผ้า ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดโศกนาฏกรรมได้ เพราะว่าเจ้าของลืมดูว่าเจ้าตัวเล็กหายไปไหน ถ้าอยู่ในตระกร้าผ้า อาจจะถูกปั่นลงเครื่องซักผ้าได้ และถ้าติดอยู่บนที่สูงโดยไม่ได้รับอาหาร เพราะว่าเจ้าของหาไม่เจออาจจะอดตายอยู่บนหลังตู้ได้

การใส่ชูก้าร์ ไว้ในกระเป๋าต่างๆ เช่น กระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง แล้วเจ้าของหลงลืม เผลอทำตกลงไปในชักโครก ล้วกดน้ำลงไปอีกคราวนี้จมน้ำตายไปเลย หรือการใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง เมื่อเจ้าของนั่งลง อาจจะทำให้ชูก้าร์แบนตายคากระเป๋ากางเกงได้

เวลานอน บางคนบอกว่าไม่สะดวกที่จะเล่นกับเค้าตอนกลางคืน ไม่ว่างจะป้อนอาหารดึกๆ คุณอาจจะเปลี่ยนเวลาตื่นของเค้าได้แต่นั่นเป็นการทำร้ายร่างกายเค้าทางอ้อม อาจจะส่งผลในระยะยาวภายหลังได้

บทความที่ได้รับความนิยม